Saturday, September 19, 2015

เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
1.เครือข่ายคอมพิวเตอร์
  1.1 ความหมายและองค์ประกอบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
      เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเข้าด้วยกันโดยใช้สื่อกลางต่างๆ แบ่งออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้
      1.เครือข่ายเฉพาะที่ หรือแลน
      2.เครือข่ายนครหลวง หรือแมน
      3.เครือข่ายบริเวณกว้าง หรือแวน
      4.เครือข่ายภายในองค์กร หรืออินทราเน็ต
      5.เครือข่ายภายนอกองค์กร หรือเอ็กทร่เน็ต
      6.เคือข่ายอินเทอร์เน็ต
   1.2การเลือกใช้ฮาร์ดแวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก
      1.อุปกรณ์ในระบบเครือข่ายขนาดเล็ก มีหลายชนิด ได้แก่ การ์ดแลน ฮับ สวิตช์ โมเด็ม เราเตอร์ สายสัญญาณ ซึ่งแต่ละชนิดแตกต่างกัน
      2.การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายขนาดเล็ก  ปัจจุบันมี 2 แบบหลักๆ คือ
        2.1) การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะใกล้
        2.2) การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล  ทางเลือกสำหรับระบบเครือข่าย มีดังนี้
  แบบที่หนึ่ง คือ ต้องติดตั้งเครื่องทวนสัญญาณ
  แบบที่สอง คือ ใช้โมเด็มหมุนโทรศัพท์เข้าหากันเมื่อต้องการเชื่อมต่อ

 แบบที่สาม ถือว่าเป็นเทคโนโลยีระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพที่สุด สายใยแก้วนำแสง
  แบบที่สี่ คือ ใช้จุดเชื่อมต่อแบบไร้สาย
  แบบที่ห้า คือ เทคโนโลยี G.SHDSL ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีตระกูล DSL
  แบบที่หก คือ เทคโนโลยีแบบ ether over VDSL


  1.3การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก
     1.ระบบปฎิบัติการลินุกซ์ เซ็นต์โอเอส  เป็นซอฟต์แวร์เปิดเผยโค้ด ผู้ใช้สามารถดาวน์ดหลดโค้ดไปใช้งานโดยไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
     2.ระบบปฎิบัติการวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ พัฒนาเป็น Windows  Server 2008 ออกแบบมาเพื่อสนับสนุนระบบเครือข่าย แอพพลิเคชัน และ บริการอื่นๆ ที่มีความทันสมัยบนเว็บไซต์ โดยมีคุณสมบัตฺเด่น ดังนี้
       2.1สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคงสำหรับภาระงานของเซิร์ฟเวอร์
       2.2เวอร์ชวลไลเซชั่น
       2.3มีระบบจัดการและดูแลเว็บ
       2.4ระบบความปลอดภัย
2.อินเทอร์เน็ต
  2.1ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
      อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยผ่านสื่อกลางชนิดใดชนิดหนึ่ง
- ปีพ.ศ.2512(1969) กองทัพสหรัฐต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงทางการทหาร และความเป็นไปได้ในการถูกโจมตี ด้วยอาวุธปรมาณู หรือนิวเคลียร์ การถูกทำลายล้าง ศูนย์คอมพิวเตอร์ และระบบการสื่อสารข้อมูล อาจทำให้เกิดปัญหาทางการรบ อินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นโครงการของ ARPAnet (Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense – DoD)
- ค.ศ.1984(พ.ศ.2524) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน
- พ.ศ.2530 ประเทศไทยได้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายเตอร์เน็ตครั้งแรก โดยมีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) เชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นในออสเตรเลีย แต่ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร เนื่องจากการส่งข้อมูลล่าช้า
- พ.ศ.2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (Nectect) ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมมือกันเช่าสายโทรศัพท์เพื่อต่อพ่วงคอมพิวเตอร์แต่ละสถาบันเข้าด้วยกัน โดยเรียกเครือข่ายสมัยนั้นว่า “เครือข่ายไทยสาร“
- พ.ศ.2537 เครือข่ายไทยสารเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และมีหน่วยงานต่างๆของราชการเข้ามาเชื่อมต่อในเครือข่ายมากขึ้นเรื่อยๆจึง ได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชนเปิดให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่บริษัทต่างๆ หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจ โดยเรียกบริษัทเอกชนที่ให้บริการทางอินเตอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ว่า ISP (Internet Service Provider)
  2.2บริการบนอินเทอร์เน็ต
1) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล (e-mail)เป็นบริการรับส่งจดหมายในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์     2) เมลลิงลิสต์ (mailing list) เป็นเสมือนเครื่องมือที่ใช้กระจายข่าวสารและข้อมูลเฉพาะกลุ่ม               3) การสื่อสารในเวลาจริง (real time communication) เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลที่สามารถโต้ตอบกลับได้ทันทีผ่านเครือข่ายการ สื่อ สาร                4) เว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม (social networking Web sites) เป็นชุมชนออนไลน์ที่สมาชิกในชุมชนมี  ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน


5) บล็อก (blog) เป็นระบบการบันทึกข้อมูลลำดับเหตุการณ์ในแต่ละวัน                                                       6) วิกิ (wiki ) เป็นรูปแบบการเผยแพร่ข้อมูลที่บุคคลต่างๆ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญเฉพาะเรื่อง สามารถมีส่วนร่วมในการเป็นผู้ให้ข้อมูลใหม่                   7) บริการเข้าใช้ระบบคอมพิวเตอร์ระยะไกล (remote login/telnet)บริการนี้อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปทำงานต่างๆ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเดินทางเข้ามายังสถานที่เดิมเพื่อใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ มาเชื่อมต่อกัน ทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายเป็นอย่างมาก 
8) การโอนย้ายข้อมูล (file transfer protocol : FTP)เป็นการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่อง หนึ่ง อาจจะอยู่ใกล้กันหรือไกลกัน โดยปกติผู้ใช้สามารถถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลได้ก็ต้องได้รับการอนุญาตจากผู้ดูแล เครื่องแม่ข่ายนั้นซึ่งต้องทราบชื่อบัญชีและรหัสผ่านสำหรับการเข้าใช้บริการ นี้    
9) บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร หรือยุสเน็ต (usenet)เป็นบริการบนอินเทอร์เน็ต ที่มีกลุ่มสนทนา เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสารกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่วคล้ายกับการเปิดเวที สาธารณะให้ผู้คนทั่วโลกแสดงความคิดเห็นร่วมกัน โดยไม่มีการเสียค่าใช้จ่าย
10) เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) เวิลด์ไวด์เว็บ นิยมเรียกสั้นๆ ว่าเว็บ หรือ WWW ถือเป็นส่วนที่น่าสนใจที่สุดบนอินเทอร์เน็ตเพราะสามารถแสดงสารสนเทศต่างๆ ได้หลากหลาย
11) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( electronic commerce หรือ e – commerce ) เป็นการทำธุรกรรมซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการบนอินเทอร์เน็ต โดยใช้เว็บไซด์เป็นสื่อในการนำเสนอสินค้าและบริการต่างๆ

 2.3คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต
    1.จรรยาบรรณในการใช้อินเทอร์เน็ต

1.1 จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้ไปรษณีย์อิเลคโทรนิึกส์ 
ผู้ใช้ควรมีความรับผิดชอบในการดูแลตู้จดหมาย (mail box) ของตนเองดังนี้
-ตรวจสอบจดหมายทุกวันและจะต้องจำกัดจำนวนไฟล์และข้อมูลในตู้จดหมายของตนให้เลือกภายในโควต้า ที่กำหนด
-ลบข้อความหรือจดหมายที่ไม่ต้องการแล้วออกจากดิสต์เพื่อลดปริมาณการใช้ดิส
-โอนย้ายจดหมายจากระบบไปไว้ยังพีซีหรือฮาร์ดดิสก์ของตนเองเพื่อใช้อ้างอิงในภายหลัง
-พึงระลึกเสมอว่าจดหมายที่เก็บไว้ในตู้จดหมายนี้อาจถูกผู้อื่นแอบอ่านได้
-ไม่ควรส่งจดหมายลูกโซ่ไปสร้างความรำคัญแก่ผู้อื่น
1.2 จรรยาบรรณ สำหรับผู้สนทนาสื่อสารผ่านเครือข่าย
ในการเรียกหาหรือเปิดการสนทนาตลอดจนการสนทนาจะต้องมีมารยาทที่สำคัญได้แก่
-ควรสนทนากับผู้ที่เรารู้จักเท่านั้น
-ก่อน การเรียกคู่สนทนาควรสอบสถานะการใช้งานของคู่สนทนาที่ต้องการเรียกเพราะการ เรียกแต่ละครั้งจะมีข้อความไปปรากฏบนจอภาพของฝ่ายถูกเรียกซึ่งก็สร้างปัญหา การทำงานได้ 
-หลังจากเรียกไปชั่วขณะคู่ที่ถูกเรียกไม่ตอบกลับ แสดงว่าคู่สนทนาอาจติดงานสำคัญ ขอให้หยุดการเรียก
-ควรให้วาจาสุภาพ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน
1.3 จรรยาบรรณ สำหรับผู้ใช้กระดาษข่าว 
-เขียนเรื่องให้กระชับ ข้อความควรสั้นและตรงประเด็น
-ไม่ควรเขียนพาดพิงถึงสถาบันของชาติในทางที่ไม่สมควร
-ให้ความสำคัญในเรื่องลิขสิทธิ์
-ไม่ควรสร้างข้อความเท็จเพื่อหลอกลวงผู้อื่น
-ไม่ควรใช้เครือข่ายส่วนรวมเพื่อประโยชน์ส่วนตัว

2.บัญญัติ 10 ประการในการใช้งานคอมพิวเตอร์
1.ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้านหรือละเมิดผู้อื่น
2.ไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3.ไม่เปิดดูข้อมูลในแฟ้มของผู้อื่น
4.ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5.ไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6.ไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่น
7.ไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์
8.ไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9.คำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันเป็นผลมาจากการกระทำของตน
10.ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎ ระเบียบ กติกา และมารยาทของสังคม












No comments:

Post a Comment